1.
การสร้าง Brand Message ให้สินค้าที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักจะแตกต่างจากสินค้าที่เป็นที่รู้จักแล้วคือ
ต้องแนะนำตัวต่อผู้บริโภคว่า เราคือใคร และสำคัญสำหรับลูกค้าอย่างไร
2.
Brand Message ให้ความสำคัญแก่การ Execution มากกว่า
Idea นั่นคือ ถึงจะคิดได้เจ๋ง แน่แค่ไหน
แต่ถ้าไม่มีการนำมาสื่อสารกระจายออกไป ก็ไม่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ
ตามที่ต้องการ
3.
พูดกับกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง ถ้ารู้อยู่แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร
ให้เน้นหาช่องทาง วิธีสื่อสารกับคนกลุ่มนั้น ให้ตรงจุดและไม่ยืดเยื้อ
4.
Brand Message ต้องเปลี่ยนแปลง ไปตามพฤติกรรมสมัย เมื่อนั้น
สินค้าเราจะไม่ตาย
5.
การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย การทำการสื่อสารอนย่างต่อเนื่อง
สม่ำเสมอ จะช่วยย้ำความจดจำ เราควรป้อนข้อมูลเข้าไปสะสมในแหล่งข้อมูล
ความคิดของผู้บริโภค ให้เค้าต้องการซื้อสินค้าหรือบริการของเรา
6.
สิ่งจำเป็นในการสร้าง Brand Message ต้องห้ามมองข้าม
การเข้าใจในโปรดักท์ของตน และอย่ามองข้ามทัศนคติของผู้บริโภค
ที่มีต่อสินค้าหรือบริษัทเราด้วย โดยเรื่องพวกนี้สามารถหาได้จากการทำวิจัย
ยอมลงทุนสักนิด แต่ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาแนวคิด
สินค้าและบริการได้ค่อนข้างดีทีเดียว
ใครที่ได้อ่านบทความนี้แล้วจะลองนำไปเป็นแนวทางสำหรับการสร้างแบรนด์
สร้างชื่อร้านค้าออนไลน์ ให้เข้าไปร่วมแชร์ตลาดสินค้าก็ไม่ว่ากันค่ะ
ลองนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับแนวทางของคุณเอง
กล่าวถึงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคุณค่า ตราสินค้าโดยมีรายละเอียด 3
ประการ ดังนี้
กลยุทธ์การบริหารคุณค่าตราสินค้า
1. กลยุทธ์ตอกย้ำ (Reinforcing Brands)
1.1 ยิ่งตอกย้ำยิ่งแกร่ง (Maintaining
Brand Consistency)
การตอกย้ำในสิ่งที่ให้ผลเชิงบวกจะส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีการรับรู้ในตราสินค้าตลอดจนความภักดีต่อตราสินค้าที่ต่อเนื่อง
แม้ตราสินค้าที่อยู่มานานก็จำเป็น ต้องตอกย้ำอยู่เสมอ เช่น บริษัท เชลล์ จำกัด
ที่อยู่ในตลาดค้าน้ำมันมานาน โดยในปี ค.ศ.
1970 บริษัท เชลล์ จำกัด เป็นผู้นำตลาดทำให้
ลูกค้ามีภาพลักษณ์ที่ดีต่อตราสินค้ามาก ครั้นถึงช่วงปี ค.ศ. 1980 ด้วยเหตุผลต่าง ๆ บริษัท เชลล์ จำกัดได้ลดค่าใช้จ่ายการสื่อสารและกิจกรรมการตลาดที่เคยทำมาอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้บริษัทไม่สามารถครองภาพลักษณ์ที่ดีในใจลูกค้าได้ดังเดิม
จึงทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมองว่าบริษัท เชลล์ จำกัด
ก็เหมือนกับตราสินค้าน้ำมันทั่วไป
ความสม่ำเสมอไม่ได้หมายความว่า
ตราสินค้านั้นไม่สามารถเปลี่ยนเอกลักษณ์ ของตราสินค้าได้เลย
ตรงกันข้ามการพัฒนาตลอดเวลาให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ กลับจะเป็นผลดีต่อตราสินค้า
ความสม่ำเสมอและการเปลี่ยนแปลง (Consistency and Change) คือ
การยึดสิ่งที่ควรย้ำและปรับสิ่งที่ควรเปลี่ยน
ตลอดอายุขัยของตราสินค้าที่ดำเนินมาอาจมีการปรับราคาขึ้นหรือลงได้
อาจมีการปรับสูตรหรือมีการออกแคมเปญใหม่ ๆ ได้
อาจมีการออกสินค้าใหม่หรือถอนสินค้าออกจากตลาดได้แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรเปลี่ยนคือความรู้สึกที่ลูกค้ามีต่อตราสินค้า
เช่น “McDonald” มีการเปลี่ยนแปลงแคมเปญการสื่อ
สารการตลาดหลายครั้ง เช่น เปลี่ยนจาก “Have You Had Your Brake Today?” เป็น “You Deserve A Brake Today” เป็นการเปลี่ยนที่ช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ของ
“McDonald” ให้เด่นชัดขึ้นแต่ยังคงไว้ซึ่งความสนุกสนาน
ความสะดวกสบายและมิตรภาพที่ดีไว้ได้ เป็นต้น
หากตราสินค้าใดไม่ระวังตัว
ก็เป็นไปได้ว่าตราสินค้าคู่แข่งอาจแย่งชิงคุณค่าตราสินค้านั้นไปได้ เช่น
ในกรณีของน้ำยาล้างจาน “Cascade”
ของค่ายพีแอนด์จีที่ได้ปรับสูตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตส่งผลให้ประสิทธิภาพการขจัดคราบลดน้อยลง
ทำให้น้ำยาล้างจาน “Sunlight” ของบริษัท ยูนิลีเวอร์ จำกัด
มาช่วงชิงจุดขาย “Spotless” จากน้ำยาล้างจาน “Cascade”
ไปจากเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัท พีแอนด์จี จำกัด
ได้ปกป้องคุณค่าตราสินค้าไว้ด้วยการใช้สูตรเดิมและฟ้องร้องการทำโฆษณาเปรียบเทียบของ
บริษัท ยูนิลีเวอร์ จำกัด อีกด้วย
กลยุทธ์ตราสินค้าอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ในกรณีที่มีสัญญาณบางอย่างเตือนให้ทราบว่าคุณค่าตราสินค้านั้นไม่แกร่งต่อไปอีกแล้วหรือเป็นการปรับตัวเพื่อให้ทันยุคสมัย
แสดงถึงการมีพัฒนาการใหม่ ๆ ตลอดเวลา เช่น ในกรณีของนาฬิกา “Timex” หลังจากที่มองเห็นการทำตลาดของนาฬิกา “Swatch” และ “Casio”
ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลมาผสมผสานกับแฟชั่นจนประสบความสำเร็จอย่างสูง
ส่งผลให้นาฬิกา “Timex” ตัดสินใจออกนาฬิการุ่นใหม่คือ “Indigto
glow-in-the-dark” พร้อมกับทำการออกแคมเปญ โฆษณาชุดใหม่ เป็นต้น
2. กลยุทธ์ชุบชีวิตชีวา (Revitalizing Brand)
หากตราสินค้านั้นยังคงมีคุณค่าและมีภาพที่ชัดเจนในสายตาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแต่กลับนิ่งเป็นเวลานาน
นั่นอาจเป็นเพราะรสนิยมของลูกค้าเปลี่ยนไปหรืออาจมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาแทรกแซงหรืออาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสภาพตลาด
โดยรวม
ถ้าไม่ต้องการให้ตราสินค้านั้นเป็นเพียงตำนานก็ต้องทำการปลุกตราสินค้าให้ตื่นด้วยกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 ขยายการรับรู้ในตราสินค้า
(Expanding Brand Awareness) ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
2.1.1
เพิ่มปริมาณการใช้สินค้าหรือบริการนั้น ๆ ในแต่ละครั้งหรือเพิ่มความถี่ในการใช้
เช่น
ซุปไก่สกัดตราแบรนด์พยายามสื่อสารให้ลูกค้าเพิ่มความถี่ในการดื่มจากการดื่มเมื่อมีปัญหาเป็นดื่มเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลาทุกวันด้วยการผูกตราสินค้าไว้กับความสำเร็จแทนที่จะเป็นการดื่มเมื่อป่วยเท่านั้น
เช่น ดื่มแบรนด์เมื่อสอบ
ดื่มแบรนด์ในที่ทำงาน เป็นต้น
2.2
ยกระดับภาพลักษณ์ของตราสินค้า (Improving Brand Image)
ตราสินค้าที่อยู่มานานมักมีภาพลักษณ์ในแง่ดี
เช่น จริงใจ ซื่อสัตย์ อบอุ่น เป็นมิตรและน่าเชื่อถือ การที่ลูกค้าคุ้นเคยและมีประสบการณ์ในวัยเด็กถือว่าเป็นสิ่งมีค่ายิ่งเพราะตราสินค้าใหม่ไม่สามารถสร้างได้ชั่วข้ามคืน ตราสินค้าที่อยู่มานานมักมีปัญหาคล้าย ๆ กันคือ มักจะดูเชยโบราณและน่าเบื่อ การพัฒนาภาพลักษณ์ของตราสินค้าให้มีชีวิตชีวาน่าตื่นเต้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
2.3
การเพิ่มคุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกของตราสินค้า (Adding an Emotional
Benefit)
การทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกชอบและมีส่วนร่วม
ผูกพันในตราสินค้านับเป็นทางออกที่ดีสำหรับสินค้าที่ไม่สามารถเล่นกับรูปแบบและคุณสมบัติของสินค้าได้
มากนัก เช่น “Smirnoff
Vodka” ที่อยู่ในตลาดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946
มีการปรับปรุง แคมเปญโฆษณาตลอดเวลา ปัจจุบันใช้แคมเปญ “Pure Surprise” โดยแสดงภาพความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ผ่านความใสของ “Smirnoff” ทำให้ลูกค้ากล่มเป้าหมายมีความรู้สึกร่วมชอบในอารมณ์ขันและอยากติดตามโฆษณาชิ้นต่อไป
ซึ่งก็ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตราสินค้าได้เป็นอย่างดี
โลโก้ร้านกาแฟ
T ย่อมาจาก Tesiri คือนามสกุลเจ้าของร้าน
สีเขียว หมายถึง การเจริญเติบโต การพักผ่อน ความเป็นธรรมชาติ
สีน้ำตาล หมายถึง เป้าหมายทางการเงิน ความก้าวหน้าในอาชีพและเป็นสีของเมล็ดกาแฟ
สีน้ำตาลกาแฟ หมายถึง เชียวชาญ เข้นข้นและทนทาน
ที่มา th.jobsdb.com http://www.idis.ru.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น